Apr 6, 2014

land of the living / fashion student thesis2014








 Srinakharinwirot University SWU, FASH 14 THE graduate Fash Presentation นิสิตวิชาเอกการออกแบบแฟชั่น ชั้นปีที่ 4 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ TCDC.


 Thammasat University TU, Irradiation Pastraporn 15 งานแสดงศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ irradiation pastraporn15 ลานอิเดน ศูนย์การค้าเซนทรัลเวิร์ล


 Rangsit University Rangsit RSU. Irresistible 10 at ZEN. โครงการศิลปนิพนธ์ สาขาแฟชั่นดีไซร์ คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัย รังสิต ของ นักศึกษาปีที่ 4 ปีจบการศึกษา 2556 โดยปีการศึกษานี้ นำเสนอผลงานแฟชั่นโชร์ จำนวน 40 ดีไซเนอร์ 40 คอลเลคชั่น โดยนำเสนอ เสื้อผ้าสตรี จำนวน 38 คอลเลคชั่น เสื้อผ้าบุรุษ 1 คอลเลคชั่น และเสื้อผ้าเด็ก 1 คอลเลคชั่น



Chulalongkorn University Creative Arts 26th Thesis Exhibition Systhesis 2014 นิทรรศการแสดงโครงการศิลปนิพนธ์ ของนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชานฤมิตศิลป์ รุ่นที่ 26 คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 6-8 มีนาคม สยามดิสคัฟเวอรี่ ชั้น G
Others fashion school and university (i did not go) are Silpakorn University, : Chulalongkorn University, MFA, Thanyaburi, RMUTT, and all Rajamangala University na ka.
my review in facebook : ถูกเชิญให้ไปดูโชว์ผลงานเรียนจบของหลายๆสถาบันมาเป็นเวลาหลายปี ต้องบอกว่าคราวนี้ประทับใจมาก มีพัฒนาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ อนาคตแฟชั่นของบ้านเรารุ่งแน่นอน. แต่ ที่หนีไม่พ้นคือ 1เรื่องการเปรียบเทียบผลงานในรุ่นเดียวกัน 2 เรื่องการลอกการบ้านกัน (สถาบันเดียวกันสไตล์เดียวกัน) 3 แนวความคิดดีไซน์ออกแบบที่ดู "reference" จากเทรนด์โลก แต่พยายามไปโยงกับความเป็น "ไทย" ทำไม ทำไม ทำไม
วงการแฟชั่นไทยตอนนี้ขาดอะไร? ในขณะที่มีแบรนด์เสื้อผ้าใหม่ๆออกมาเรือยๆและเด็กจบแฟชั่นทุกปี ดีไซนเนอร์หน้าใหม่เหล่านี้อยู่กันได้หรือเปล่า? เข้าใจเรื่องระบบการตลาดและการลงทุนพอไหม? ในเมื่อการแข่งขันมันมีมากขึ้นในปจุบัน จำนวนผู้บริโภกก็มีเพิ่มขึ้น ส่วนแบ่งทางการตลาดมีมากขึ้น แล้วนักลงทุนหละมีพอมัย? ดีไซนเนอร์ต้องทำงานแข่งขันกับตัวเองหรือเอาใจตลาดอยู่ ถ้าปรับงานให้งานของตัวเองดูเป็น"สากล" แล้วจะขาดความเป็นไทยหรือสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองมัยในขณะที่ identity เป็นสิ่งสำคัญในตอนนี้. นักลงทุนเข้าใจตัวเองหรือเข้าใจการทำงานของดีไซเนอร์มากน้อยเท่าไหร่. คำถามๆๆ การพูดคุยเจรจา "สไตล์" ของแต่หละคนที่แตกต่างกับการทำงานและเวลา ตอนนี้อาจเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่แฟชั่นไทยตอนนี้ต้องการ.
comments
Krish bkk Tha : ส่วนตัวคิดว่าระบบการศึกษาFashion Thai ยังมีจุดบอด นักเรียนและผู้สนใจยังเข้าไม่ถึงว่า เป็นFashion Designer คืออะไร ต้องมีหรือใช้องค์ความรู้ อะไรบ้าง เพื่อเข้าสู่ระบบFashion Industrial จึงพบจุดด้อยดังนี้
1.พวกเรียนออกแบบจะไม่เก่งตัดเย็บ และ Pattern
2.นร.ที่เรียนตัดเย็บก็ออกแบบไม่เป็น
PS.(1และ2ต้องเรียนการประยุกต์)
3.หลายพวกอาจจะ งงกะ Fashion vs Styling??
4.ยังไม่สามารถเข้าถึง Technology+Machine in Fash system
5.ไม่รู้ลึก เรื่อง Material n Textile..Gosh
6.ขาดการสื่อสารกะ สากล
7.นร.มักจะไม่สนใจ World of Art n Fash_History...Structure &Style
8.ส่วนมากไม่เก่งคำนวณ และ การขาย Visual n Merchandising
Mark maruwur : การศึกษาสำคัญมากค่ะ โครงสร้างหลักสูตรการเรียน โดยเฉพาะแฟชั่น ควรมีการปรับเปลี่ยนอยู่เรือยๆ commonsense ก้อสำคัญพอๆกัน แต่ทุกวันนี้ดูเหมือนคนจะไม่ค่อยมี commonsenseเท่าไหร่
  Krish bkk Tha : ตอนนี้ พบมากคือ
1.สถาบันต่างๆสร้างภาพขายฝัน(เขาอาจมองนักเรียนเป็นลูกค้า??)ทำการตลาดภาพสวยๆด้านเดียว.ลองถามพวกที่เรียนFashion ดิโหดขนาดใหน! โฆษณาชวนเชื่อเกินงาม เข้าสู่โลกวัตถุนิยมกันเกินไปแล้ว นับจาก BKK Fashion City เป็นต้นมา
2.ครูผู้รู้ขาดแคลน รร.ต
่างล้วนมีข้อดี แต่ไม่ยอมแบ่งปัน กลัวเสียฐานลูกค้า...
เช่น รร.กลุ่มราชมงคลฯจะเก่งตัดเย็บ ก็ตะบันสร้างแต่ช่างเย็บ...เย็บสวย..เรียบร้อย..แต่เชย...นร.จบไปก็เข้าอยู่ฝ่ายห้องเย็บ...
รร.สอนออกแบบก็ใช้จักร์เย็บผ้าไม่เป็น
แถมทั้งหมด ไม่ยอมเรียน Computer Graphic?
ไม่ยอมอ่านหนังสือ และเข้าห้องสมุด...คงต้องปรับกันอีกยาว..ทำหน้าที่ให้ดัที่สุดครับ(*_*)

No comments:

Post a Comment